เก็บเอาไว้ ขนมครกสูตรโบราณ (กรอบโดยไม่ต้องใส่น้ำปูนใส)

เก็บเอาไว้ ขนมครกสูตรโบราณ (กรอบโดยไม่ต้องใส่น้ำปูนใส)

เก็บเอาไว้ ขนมครกสูตรโบราณ (กรอบโดยไม่ต้องใส่น้ำปูนใส)

ในวันนี้เราได้มี ขนมครกสูตรโบราณ มาแจกให้กับเพื่อนๆได้ทำกัน แจกหมดในทุกขั้นตอน หอม รสชาติอร่อยแบบไม่ต้องปรุงเพิ่มอร่อยได้ คุณสามารถนำสูตรนี้ไปเปิดร้านทำขายสร้างอาชีพได้เลยทีเดียว เราไปดูสูตรและวิธีการทำกันเลยจ้า

ส่วนผสมตัวแป้ง

– ข้าวสา ร(ใช้ข้าวเก่าที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ) 2 ถ้วย

– โบราณเรียกว่าข้าวเคี่ยว

–  ข้าวสุก 3/4 ถ้วย

– มะพร้าวขูดแบบขาวๆ 1 ถ้วยครึ่ง

– เกลือป่น 1 ชช.

– น้ำเดือดจัดๆ 6 ถ้วย

เทส่วนผสมทุกอย่ างใสลงในกาละมังใบใหญ่(ต้องเผื่อเนื้อที่เวลาข้าวสา รขึ้นอืดด้วยนะ) เทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ใช้พายหรือทัพพีคนให้ทั่ว (อย่ าให้เหลือข้าวส ารกอดกัน) ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาไปโม่ให้ละเอียดเนียน

(ไม่ต้องทิ้งข้ามคืนแบบแป้งทับน้ำธรรมดานะคะ)ถ้าทำจำนวนมาก ให้หล่อกาละมังด้วยน้ำเย็น(ไมใช่น้ำแข็งนะ) ข้าวส ารจะได้ไม่สุกเกินไป ถ้าข้าวสุกเกินไป เวลาหยอด ขนมจะติด และแหยะๆ

ส่วนกะทิหยอดหน้า

(สูตรนี้ไม่ต้องจิ้มน้ำตาล ถ้าต้องการใส่หน้าต่างๆ เช่นหน้าฝอยทอง หน้าไข่เค็ม ต้องคอยดูและปรับความหวานเค็มเอาเอง ปกติทำกินเองจะไม่ใส่ คุณย่ าท่านว่าทำกินเทียมเจ้าเทียมนาย ไม่สมควร)

– น้ำกะทิ 2+1/4 ถ้วย

– น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย

– เกลือป่น 1 + 3/4 ชช.

– ผสมรวมกัน คนให้ละลาย (สมัยก่อนต้องกรองให้สะอาด)

วิธีทำให้เตาร่อน

(กรณีเตาใหม่ หรือ ไม่ได้ใช้นานๆ) สมัยก่อน ใช้สุมหลุมขนมด้วยกากมะพร้าวที่คั้นแล้ว แล้วเผาไฟรุมๆ แบบนี้ใช้เวลานาน อีกวิธีหนึ่ง ใช้น้ำมันทาในหลุมขนม ตั้งไฟอ่อนมากๆ หมั่นเติมน้ำมัน จนกะทะอิ่มตัว น้ำมันไม่พร่อง เป็นอันใช้ได้

วิธีหยอด

1 ตั้งไฟให้ร้อน เช็ดหลุมด้วยน้ำมัน หยอดตัวแป้ง ประมาณ 3/4 ของหลุม พักไว้อึดใจนึงแล้วค่อยหยอดหน้ากะทิ จนเต็ม ปิดฝา ปกติ จะให้หยอดแป้งหลุมกลางก่อน พอหยอดถึงรอบที่ 2 เสร็จ ค่อยกลับมาหยอดกะทิหลุมกลาง แล้วจึงกลับไปทำแบบเดียวกันกับหลุมรอบนอกๆไฟ

2 กรณีใช้กะทะเหล็ก ถ้าไฟร้อนจัดเกินไป แป้งจะสุกทันที ควรใช้ไฟกลางๆ แป้งเดือด แตกมัน น่ารับประทาน ถ้าไฟอ่อนไป หน้าขนมจะด้านและเป็นแป้งแข็งๆถ้าใช้เตาถ่าน ให้เกลี่ยถ่านไว้ด้านข้าง ถ้าใช้เตาแก๊ส ให้ดับวงในซะ

(ขนมครกสูตรนี้ ถ้าทำถูกต้อง เวลารับประทาน แป้งกับกะทิจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ครึ่งชม. ยังกรอบ และคงรูป ไม่ย้วย)

ขอบคุณที่มา Pan Pinratt‎

เรียบเรียงโดย 108archeepparuay