มีที่ดินต้องรู้สิ่งนี้ไว้ก่อนทำการซื้อขาย โฉนดครุฑแดง ครุฑเขียว ครุฑดำ 

มีที่ดินต้องรู้สิ่งนี้ไว้ก่อนทำการซื้อขาย โฉนดครุฑแดง ครุฑเขียว ครุฑดำ 

มีที่ดินต้องรู้สิ่งนี้ไว้ก่อนทำการซื้อขาย โฉนดครุฑแดง ครุฑเขียว ครุฑดำ

สวัสดีคุณผู้ชม วันนี้เราจะมาให้ความรู้โฉนดที่ดิน ในบ้านเรานั้นมีหลายประเภทที่สามารถซื้อขายกัน มีทั้งโอนกรร มสิทธิ์ได้ และบางที่เป็นเพียงหนังสือแสดงสิทธิการทำมาหากินในที่ทำประโยชน์นั้น ในการซื้อขายนั้นเราต้องดูอย่ างละเอียด ว่าคนที่เอาบ้านหรือที่ดินมาขายให้เราเป็นเจ้าของกร ร มสิทธิ์จริงหรือเปล่า ซึ่งใครหลายคนอาจจะสังเกตเห็นว่า บริเวณตราครุฑ ทำไมถึงมีหลายสี โฉนดจริงหรือโฉนดไม่จริง และ มันแตกต่างกันอย่ างไรไปดูกันเลย

ครุฑแดง คือ โฉนดที่ดิน (น.ส.4)

เป็นเอกสา รแสดงก ร ร มสิทธิ์ที่ชัดเจนที่สุด สามารถซื้อขายได้ โอนได้ถูกต้องตามกฎหมาย โฉนดที่ดินที่มีครอบครองกันเกือบทั้งหมดก็เป็นครุฑแดงตัวนี้ โดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ในตัวเมือง ส่วนโฉนดหลังแดงจะเป็นเอกสา ร น.ส.4 ซึ่งจะระบุด้านหลังโฉนดว่าห้ามโอนภายในระยะเวลา 5-10 ปี

ครุฑเขียว คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์

ประเภท น.ส.3 ก. ย้ำว่า น.ส.3 ก. ซึ่งออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ เป็นเอกสา รที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าเราได้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้นๆ มีการระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นหลักแหล่ง คุณสมบัติใกล้เคียงกับโฉนด ซื้อขาย จำนองธนาคารได้ และสามารถไปยื่นเรื่องเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินได้ในอนาคต

ครุฑดำ คือ หนังสือรับรองการทำประโยชน์

หนังสือรับรองการทำประโยชน์ ประเภท น.ส.3 และ น.ส.3 ข. จำง่าย ๆ ละกันว่า 2 อันนี้ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศเป็นเอกสา รที่ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ใช้สำหรับเป็นหนังสือรับรองจะแสดงถึงสิทธิ์การครอบครองของเจ้าของ แต่ยังไม่ได้รับการรับรองอย่ างเป็นทางการ ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศที่แน่ชัด จะซื้อขายต้องรอประกาศจากราชการ 30 วัน

แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1)

คือใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่า ตนครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่ (แต่ปัจจุบันไม่มีการแจ้ง ส.ค.1 อีกแล้ว) ส.ค.1 ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิที่ดิน เพราะไม่ใช่หลักฐานที่ทางราชการออกให้เพียงแต่เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินของราษฎรเท่านั้น ดังนั้นตามกฎหมาย ที่ดินที่มี ส.ค.1 จึงทำการโอนกันได้เพียงแต่แสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้รับโอนไปเท่านั้น ก็ถือว่าเป็นการโอนกันโดยชอบแล้ว ผู้มี ส.ค.1 มีสิทธินำมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข) ได้ 2 กรณี คือ

กรณีที่ 1 นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดินตามโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ กรณีนี้ทางราชการจะเป็นผู้ออกให้เป็นท้องที่ไป โดยจะมีการประกาศให้ทราบก่อนล่วงหน้า

กรณีที่ 2 นำมาเป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข) เฉพาะราย คือกรณีที่เจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ก็ให้ไปยืนคำขอ ณ สำนักงานที่ดินที่ที่ดินตั้งอยู่เฉพาะการออกโฉนดที่ดินนี้ จะออกได้ในพื้นที่ที่ได้สร้างระวางแผนที่สำหรับออกโฉนดที่ดินไว้แล้วเท่านั้น

ประโยชน์ของโฉนดที่ดิน

1 ทำให้ผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้มีหนังสือสำคัญแสดงก ร ร มสิทธิ์ที่ดินยึดถือไว้เป็นหลักฐาน ทำให้เกิดความมั่นคงในหลักก ร ร มสิทธิ์แก่ผู้เป็นเจ้าของที่ดินใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินของตนทั้งต่อรัฐและในระหว่างเอกชนด้วยกันทำให้รู้ตำแหน่งแหล่งที่ตั้ง ตลอดจนขอบเขตและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินแต่ละแปลงได้ถูกต้อง ทำให้สามารถป้องกันการบุก การุกขย ายเขตครอบครองเข้าไปในที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่สงวนหวงห้าม ที่สาธารณประโยชน์ และที่ดินที่ทางราชการได้กันไว้เป็นเขตป่าไม้

2 ทำให้สามารถระงับการทะเลาะวิวาท การโต้แย้ง หรือแย่งสิทธิในที่ดินหรือการรุกล้ำแนวเขตที่ดินซึ่งกันและกัน

3 ทำให้ปัจจัยพื้นฐานในการผลิตทางเศรษฐกิจ มีความมั่นคงและมีผลเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย

4 ทำให้เกิดความรักและความห่วงแหนที่ดินของตน มีแรงจูงใจที่จะปรับปรุงและพัฒนาที่ดินของตนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้เป็นหลักฐานแสดงทุนทรัพย์หรือหลักประกันในการขอสินเชื่อ และก ู้ยืมเงินเพื่อนำมาใช้เป็นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตและรายได้เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้สูงขึ้น ใช้เป็นหลักทรัพย์ในการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน ประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล ฯลฯ การตรวจสอบหลักฐานสำหรับที่ดิน สำหรับที่ดินที่เป็นโฉนดกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วเป็นประโยชน์แก่บุคคลที่ประสงค์จะจำหน่าย จ่าย โอน เนื่องจากการโอนที่ดินที่มีโฉนดที่ดินไม่ต้องประกาศ เว้นแต่มรดก

ทั้งนี้ เอกสา รสำคัญทั้งหมดแม้จะแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นแล้วก็ตาม ถ้าหากเราปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ ถ้าเป็นที่ดินที่โฉนดที่ดิน ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 ปี และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 5 ปีติดต่อกัน ที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐตามกฎหมาย หรือถ้าหากปล่อยให้บุคคลอื่นครอบครองโดยสงบเปิดเผย โดยมีเจตนาเอาเป็นเจ้าของโดยท่านไม่เข้าขัดขวาง สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเป็นเวลา 10 ปีติดต่อกันบุคคลที่เข้าครอบครองนั้นก็จะมีสิทธิไปดำเนินคดีทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้ก ร ร มสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองได้ และที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข) ใช้เวลาแย่งการครอบครองเพียง 1 ปีเท่านั้น ท่านก็จะเสียสิทธิ ดังนั้นเมื่อที่ดินของเรามีเอกส ารสำคัญดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรัก ษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของเรา และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ทาย าทต่อไป

ขอบคุณที่มา กรมที่ดิน, อสังหาเชียงใหม่

เรียบเรียงโดย 108archeepparuay