เก็บเอาไว้ วิธีทำขนมครก แป้งสูตรโบราณ นุ่มหวานมันกะทิ อร่อยมาก
สวัสดีทุกท่าน วันนี้เรามีสูตรขนมครกสูตรคุณหญิงย่ ากรอบนอกนุ่มใน หวานมัน (กรอบโดยไม่ต้องใส่น้ำปูนใส) มาฝากทุกท่านให้ได้ลองทำทานกันดูจ้า รับรองได้ว่าอร่อยเด็ดแน่นอน เรามาดูกันว่าจะมีวิธีการแบบไหนทำอย่ างไร ไปชมกันได้เลย
ส่วนผสมตัวแป้ง
ข้าวสา ร(ใช้ข้าวเก่าที่ไม่ใช่ข้าวหอมมะลิ) 2 ถ้วย
โบราณเรียกว่าข้าวเคี่ยว
ข้าวสุก 3/4 ถ้วย
มะพร้าวขูดแบบขาวๆ 1 ถ้วยครึ่ง
เกลือป่น 1 ชช.
น้ำเดือดจัดๆ 6 ถ้วย
เทส่วนผสมทุกอย่ างใสลงในกาละมังใบใหญ่(ต้องเผื่อเนื้อที่เวลาข้าวสา รขึ้นอืดด้วยนะ) เทน้ำเดือดจัดๆ ลงไป ใช้พายหรือทัพพีคนให้ทั่ว (อย่ าให้เหลือข้าวสา รกอดกัน) ทิ้งไว้ให้เย็น แล้วเอาไปโม่ให้ละเอียดเนียน
(ไม่ต้องทิ้งข้ามคืนแบบแป้งทับน้ำธรรมดานะคะ)
ถ้าทำจำนวนมาก ให้หล่อกาละมังด้วยน้ำเย็น(ไมใช่น้ำแข็งนะ) ข้าวสา รจะได้ไม่สุกเกินไป ถ้าข้าวสุกเกินไป เวลาหยอด ขนมจะติด และแหยะๆ
ส่วนกะทิหยอดหน้า
(สูตรนี้ไม่ต้องจิ้มน้ำตาล ถ้าต้องการใส่หน้าต่างๆ เช่นหน้าฝอยทอง หน้าไข่เค็ม ต้องคอยดูและปรับความหวานเค็มเอาเอง ปกติทำกินเองจะไม่ใส่ คุณย่ าท่านว่าทำกินเทียมเจ้าเทียมนาย ไม่สมควร)
น้ำกะทิ 2+1/4 ถ้วย
น้ำตาลทราย 3/4 ถ้วย
เกลือป่น 1 + 3/4 ชช.
ผสมรวมกัน คนให้ละลาย (สมัยก่อนต้องกรองให้สะอาด)
วิธีทำให้เตาร่อน
(กรณีเตาใหม่ หรือ ไม่ได้ใช้นานๆ)
สมัยก่อน ใช้สุมหลุมขนมด้วยกากมะพร้าวที่คั้นแล้ว แล้วเผาไฟรุมๆ แบบนี้ใช้เวลานาน
อีกวิธีหนึ่ง ใช้น้ำมันทาในหลุมขนม ตั้งไฟอ่อนมากๆ หมั่นเติมน้ำมัน จนกะทะอิ่มตัว น้ำมันไม่พร่อง เป็นอันใช้ได้
วิธีหยอด
ตั้งไฟให้ร้อน เช็ดหลุมด้วยน้ำมัน หยอดตัวแป้ง ประมาณ 3/4 ของหลุม พักไว้อึดใจนึงแล้วค่อยหยอดหน้ากะทิ จนเต็ม ปิดฝา
ปกติ จะให้หยอดแป้งหลุมกลางก่อน พอหยอดถึงรอบที่ 2 เสร็จ ค่อยกลับมาหยอดกะทิหลุมกลาง แล้วจึงกลับไปทำแบบเดียวกันกับหลุมรอบนอกๆ
ไฟ กรณีใช้กะทะเหล็ก ถ้าไฟร้อนจัดเกินไป แป้งจะสุกทันที ควรใช้ไฟกลางๆ แป้งเดือด แตกมัน น่ารับประทาน ถ้าไฟอ่อนไป หน้าขนมจะด้านและเป็นแป้งแข็งๆ
ถ้าใช้เตาถ่าน ให้เกลี่ยถ่านไว้ด้านข้าง ถ้าใช้เตาแก๊ส ให้ดับวงในซะ
ปอลิง : ขนมครกสูตรนี้ ถ้าทำถูกต้อง เวลารับประทาน แป้งกับกะทิจะละลายเป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้ครึ่งชม. ยังกรอบ และคงรูป ไม่ย้วย
สูตรนี้ ใช้หยอดเตาขนาดกลาง 20 หลุม จะได้ขนม 320 ฝา หรือ 160 คู่
ปอลิง อีกที : สำหรับแม่บ้านสมัยใหม่ที่จะใช้ปั่นแทนการโม่ ให้ปั่นทีละน้อย มันจะละเอียดไว ถ้าปั่นเยอะๆ ต้องใช้เวลานาน จะเกิดความร้อน ข้าวจะสุกเกินไป ตอนหยอด มันจะแหยะๆนะ
ขอบคุณที่มา Pan Pinratt
เรียบเรียงโดย 108archeepparuay